วันพุธที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

บทอาขยาน

บทอาขยาน
กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายกำหนดให้มีการท่องอาขยาน อย่างจริงจังในสถานศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ของการท่องอาขยาน เพื่อให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภาษาไทย และให้ซาบซึ้งในความไพเราะของบทร้อยกรอง เป็นพื้นฐานในการแต่งคำประพันธ์ สื่อในการถ่ายทอดคุณธรรม คติธรรม และข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชน ส่งเสริมให้มีจิตสำนึกทางวัฒนธรรมของคนในชาติ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บทอาขยาน ม.4

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก


มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ อ่านเพิ่มเติม

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์

ที่มาของเรื่องมงคลสูตรคำฉันท์
เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดคือ กาพย์ฉบัง 16 และอินทร์วิเชียรฉันท์ 11 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มงคลสูตรคำฉันท์

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต อ่านเพิ่มเติมผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

หัวใจชายหนุ่ม

 หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ  เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน 
royal%20R6

นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์


             นิราศนรินทร์ เป็นวรรณคดีในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเภทนิราศ ที่จัดว่าแต่งได้ดี โดยกระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนได้ศึกษากันในชั้นเรียน และมีบทโคลงที่ใช้เป็นแบบแผนของโคลงสี่สุภาพด้วย 
อ่านเพิ่มเติม 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิราศนรินทร์คำโคลง

นิทานเวตาลเรื่องที่10

นิทานเวตาลเรื่องที่10

นิทานเวตาล 
เป็นฉบับพระนิพนธ์พระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณมีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า  เวตาลปัญจวิงศติ  (Vetala Panchvim shati  แปลว่า  นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล  (ปัญจะ = ๕,  วิงศติ = ๒๐) อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ นิทานเวตาล เรื่องที่10

ตอนศึกกะหมังกุหนิง

ตอนศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เป็นบทละครรำที่พร้อมเพรียงทั้งเนื้อหา ความไพเราะ กระบวนการเล่นละคร และยังสะท้อนถึงประเพณีไทยในอดีต โดยแม้บทละครรำเรื่อง อิเหนา จะมีพื้นเพมาจากชวา แต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ทรงปรับแก้ให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง และรสนิยมของคนไทย อ่านเพิ่มเติม

คำนมัสการคุณานุคุณ


คำนมัสการคุณานุคุณ
    

คำนมัสการคุณานุคุณ  ผลงานการประพันธ์ของ  พระยาศรีสุนทรโวหาร  (น้อย  อาจารยางกูร)  มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  บิดามารดา  และครูอาจารย์  โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คำนมัสการคุณานุคุณ

การวิจักษ์วรรณคดี

การวิจักษ์วรรณคดี
วรรณคดีเป็นหนังสือซึ่งแต่งดี  มีคุณค่าด้านเนื้อหาสาระ และคุณค่าทางวรรณศิลป์ การที่จะนิยมหรือยอมรับว่า หนังสือเรื่องใดแต่งดีหรือมีคุณค่า ผู้อ่านต้องสนใจใคร่รู้และควรอ่านอย่างไตร่ตรองให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้เข้าใจในเรื่องราวและได้รับอรรถรสของบทประพันธ์ อ่านเพิ่มเติม
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง